ผู้นำกระแส ขายดีก่อนใคร
จุดประกายแบรนด์ด้วยไอเดียสดใหม่
Click Here
เฉดไหนก็ขายดี
เนื้อเนียน เลือกเฉดสีได้ตามใจ
Click Here
ผิวหอม พร้อมผิวเนียน
รับทำแบรนด์โลชั่นน้ำหอม กลิ่นชัด ติดทน กลิ่นไม่เหมือนใคร
Click Here
Previous
Next

ประเภทครีมกันแดด

แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ chemical sunscreen , physical blocker และ chemical-physical sunscreen

1. ครีมกันแดดดูดซับรังสี (chemical sunscreen)
ครีมกันแดดประเภทนี้ ประกอบด้วยสารเคมีที่มีคุณสมบัติในการดูดซับรังสีไว้ได้ ทำให้รังสีบางส่วนไม่สัมผัสกับผิวหนัง แต่จะปล่อยรังสีในช่วงคลื่นอื่นออกมาหลังการดูดซับไว้ แต่เป็นช่วงคลื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง สารที่ใช้ผสม และมีคุณสมบัติดูดวับรังสีได้ ได้แก่
– oxybenzone
– PABA
– salicylates
– cinnamates
– ฯลฯ

ทั้งนี้ ครีมกันแดดประเภทนี้มีข้อดีหลายประการ ได้แก่
– ไม่มีสีหรือมีสีอ่อนๆ
– มีคุณสมบัติในการบำรุงผิว
– มีราคาถูก

ส่วนข้อเสีย คือ บางคนอาจเกิดอาการแพ้ต่อสารเคมีที่ผสมได้ รวมถึงต้องมั่นทาครีมทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เมื่อต้องตากแดดเป็นเวลานานๆ เพราะสารที่ผสมจะดูดซับรังสีไว้ในปริมาณที่จำกัด หากดูดซับไว้เต็มที่แล้วก็จะไม่สามารถดูดวับไว้ได้อีก ทำให้รังสีที่ได้รับต่อมากระทบต่อผิวหนังทั้งหมด

2. ครีมกันแดดสะท้อนรังสี (physical blocker)
ครีมกันแดดประเภทนี้ มีส่วนผสมหลักของ zinc oxide หรือ titanium dioxide ซึ่งส่วนมากจะเป็นสีขาว และมีคุณสมบัติช่วยป้องกันรังสีUV ได้เกือบทั้งหมด ทำหน้าที่สะท้อน และกระจายรังสี UVA และ UVB ออกไปจากผิวหนัง และหลังการทาจะมีเนื้อครีมบางส่วนถูกดูดซึมเข้าผิวหนังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้น ครีมกันแดดประเภทนี้จึงไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายนัก

ข้อดีของครีมกันแดดประเภทนี้ คือ
– ไม่สลายตัวง่ายเมื่อสัมผัสกับแสงแดด จึงไม่ต้องทาซ้ำบ่อยๆ
– มีผลทำให้ผิวระคายเคืองน้อย ไม่เกิดอาการแพ้ง่าย

3. ครีมกันแดดแบบผสม (chemical-physical sunscreen)
ครีมกันแดดประเภทนี้ มีส่วนผสมของสารที่มีคุณสมบัติในการดูดวับ และสะท้อนรังสีเข้าด้วยกัน อีกทั้ง ยังช่วยลดผลข้างเคียงจากสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย เนื้อครีมมีส่วนผสมของสารเคมีที่เป็นสีขาว น่าใช้มากขึ้น ดังนั้น จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมข้อดี และลดข้อด้อยของครีมกันแดดทั้งสองประเภทข้างต้น ซึ่งปัจจุบัน ครีมกันแดดที่วางจำหน่ายส่วนมากจะเป็นประเภทผสมผสาน

ประเภทครีมกันแดด (แบ่งตามผลทีมีต่อสีผิว)
1. Sun Tan เป็นผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดที่หลังการทาแล้ว เนื้อครีมจะซึมเข้าสู่เซลล์ผิว และทำหน้าที่เปลี่ยนสีผิวให้เข้มขึ้น แต่ไม่เกิดอันตรายต่อเซลล์ผิวแต่อย่างใด
2. Sunscreen เป็นผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดที่ทำหน้าที่กรองรังสี กระจาย และสะท้อนรังสีไม่ให้เข้าสู่เซลล์ผิวมาก รวมถึงช่วยในการปรับสมดุลของสีผิวที่หมองคล้ำหลังการตากแดด

ประเภทครีมกันแดด (แบ่งตามส่วนที่ทา)

1. ครีมกันแดดทาหน้า (Sunshade)
ครีมกันแดดประเภทนี้ มักมีส่วนผสมของซิงค์ออกไซด์หรือไททาเนียมไดออกไซด์ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันรังสี UV ได้ทุกชนิด ใช้สำหรับการทาบริเวณที่บอบบาง อาทิ บริเวณใบหน้า ลำคอ และริมฝีปาก

2. ครีมกันแดดทาลำตัว (Sunscreen/Sunblock)
ครีมกันแดดประเภทนี้ มักมีส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิดที่ผสมผสานกันระหว่างสารเคมีที่ทำหน้าที่ดูดซับ และสะท้อนรังสี UV ซึ่งประสิทธิภาพจะถูกระบุเป็นค่า SPF

วิธีเลือกซื้อครีมกันแดด การเลือกซื้อครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันแสงแดดอย่างถูกต้อง ทำได้ ดังนี้

  • เลือกครีมกันแดดที่ปกป้องผิวได้อย่างครอบคลุม (Broad-Spectrum) ซึ่งจะช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวีเอและรังสียูวีบี เนื่องจากครีมกันแดดทุกตัวจะช่วยป้องกันรังสียูวีบี ซึ่งเป็นรังสีที่ทำให้ผิวไหม้และเป็นมะเร็งผิวหนัง ครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์ป้องกันแดดอื่น ๆ ที่ป้องกันทั้งรังสียูวีเอและยูวีบีจะได้รับการระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ว่า Broad-Spectrum ส่วนครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่ไม่ได้รับการระบุดังกล่าวจะป้องกันผิวไหม้ แต่ไม่ครอบคลุมการป้องกันมะเร็งผิวหนังและผิวแก่ก่อนวัย
  • ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 หรือมากกว่านั้น โดยค่า SPFจะช่วยบอกระดับการป้องกันผิวจากรังสียูวีบี ครีมกันแดดที่มีค่าดังกล่าวสูงก็จะปกป้องผิวจากแสงแดดได้มาก โดยครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 จะกรองรังสียูวีบีได้ร้อยละ 93 ครีมกันแดดที่มีค่า 30 จะกรองได้ร้อยละ 97 และครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 กรองได้ร้อยละ 98 ส่วนครีมกันแดดที่มีค่า SPFต่ำกว่า 15 สามารถป้องกันผิวไหม้ได้ แต่ไม่ป้องกันมะเร็งผิวหนังหรือผิวแก่กว่าวัย
  • เลือกครีมกันแดดที่กันน้ำได้ (Water Resistant) โดยครีมกันแดดชนิดนี้จะช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดระหว่างที่ว่ายน้ำหรือเหงื่อออกได้นานประมาณ 40-80 นาที ผู้ใช้ควรทาครีมกันแดดซ้ำอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น
  • เด็ก และผู้ที่มีปัญหาผิวหนังหรือเกิดอาการแพ้อื่น ๆ ควรเลือกครีมกันแดดหรือผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่ผสมไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) หรือซิงก์ออกไซด์ (Zinc Oxide) ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองได้น้อย เลี่ยงใช้ครีมกันแดดที่ผสมกรดพาราอะมิโนเบนโซอิก (Para-Aminobenzoic Acid: PABA) หรือกรดพาบา หรือผสมเบนโซฟีโนน (Benzephenones) เช่น ไดออกซิเบนโซน (Dioxybenzone) ออกซิเบนโซน (Oxybenzone) หรือซอลลิเบนโซน (Sulisobenzone) รวมทั้งครีมกันแดดที่ผสมแอลกอฮอล์ น้ำหอม และวัตถุกันเสีย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top